วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

ครั้งแรกในชีวิตกับการสัมภาษณ์งาน

ครั้งแรกกับการสัมภาษณ์งานในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีเลยก็ว่าได้เลยครับ
ผมได้รับโทรศัพท์ของตอนเช้าวันที่20/กย/60 และได้ตกลงนัดสัมภาษณ์ไปในเช้าวันที่ 21/กย/60 เวลา8โมง โดยก่อนจะวางสายเจ้าหน้าที่HR บอกให้เตรียมคิดเลข คิดอัตราส่วนร้อยละมาด้วยนะ ผมก็ บอก "อ่อครับๆ"


17.00 - 19.00pm
ผมใช้เวลาเตรียมเอกสารรูปถ่าย เตรียมอะไรต่างๆนาๆนานมากๆเพราะหาทะเบียนบ้านไม่เจอ และบัตรประชาชนก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน ผมหมดเวลากับตรงนี้ไปนานมากเกือบๆ2ชั่วโมง ผมวิ่งไปกลับร้านถ่ายเอกสารแถวบ้านหลายรอบมากๆ เพราะหลังจากได้ transcript ก็ลงหาสมัครงานเลย แต่ไม่ได้เตรียมเอกสารผมจะจำ!!!!ว่าจะไม่ให้เกิดขึ้นอีกเตรียมให้พร้อม




19.30 - 22.30pm
หลังจากได้เอกสารครบก็รีบไปหาข้อมูลเกี่ยวกับอัตราร้อยละ ที่เคยได้เรียนในมหาวิทยาลัย และก็ลองเอาโจทย์เก่าๆมาทำผมใช้เวลากับมัน 3 ชั่วโมงในการทบทวน เมื่อถึงเวลา4ทุ่มครึ่งก็อาบน้ำ





ผมก็นอน....ข่มตาก็ไม่หลับเกิดคำถามในใจมากมายว่าจะตอบอย่างไรแบบไหน ถ้าเขาถามแบบนี้จะอธิบายอย่างไร มีความตื่นตัวตื่นเต้น กว่าจะข่มตาหลับได้ก็ตี1กว่าๆตื่นมาอีกทีตี 5.40am ผมอาบน้ำออกจากบ้าน 6.15am


ผมเดินเข้าไปฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ HR เอาใบกรอกประวัติส่วนตัวมาให้ พร้อมกับบอกว่า ถ้ากรอกเสร็จแล้ว เอาแบบทดสอบไปทำด้วยนะค่ะ
วินาทีที่ผมเปิดแบบทดสอบก็แอบตกใจว่าเห้ย!!!!!!!!!! มันทำได้นะแต่......เราไม่รู้ข้อมูลอะไรเลยเกี่ยวกับ บริษัทเขา และเราจะทำอย่างไรผมนั้งตกใจ คำถามก็เด้งเข้ามาในหัวว่าเราจะทำไงวะ อัตราร้อยละมันเกี่ยวกับเรื่องนี้นิเหรอ?   ผมตั้งสตินั้งทำแบบทดสอบเสร็จละส่ง ปรากฏว่าผิด!!! พี่HRก็ส่งกลับมาให้ทำใหม่ พร้อมทั้งกดดันผมอยู่ข้างหลัง ผมไม่มีอะไรเลยมีแต่กระดาษทด และเครื่องคิดเลข ปากกากับดินสอ และก็ได้ทำจนสุดความสามารถ ผมก็ส่งไปเขาก็บอกมาว่า จะลงสาขานี้ใช้ไหมครับผมก็ตอบครับและเขาก็บอกจะติดต่อกลับมา ผมก็ได้แต่ รอ ร๊อ รอ.... พร้อมกับจำไว้ว่าวันหลังหากไปอีก จะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง




(กระดาษทด)





สรุปได้ว่า  เป็นประสบการณ์ที่ดีครับกับการสัมภาษณ์งานครั้งแรกในชีวิตและจะทำไปตลอดว่าจะต้องทำไรบ้าง
1.เอกสาร
2.ศึกษาข้อมูลบริษัท เตรียมตัวมาดีๆ
3.ความคิด ความรู้ในตำแหน่งงานที่เราจะเข้าไปทำ
4.ความพร้อม




หวังว่าคงจะเป็นประโยนช์แก่ทุกๆคนนะครับ

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

สรุปหนังสือ BRANDiNG4.0



BRANDiNG4.0 เป็นหนังสือที่เขียนโดย คุณปิยะชาติ อิศรภักดี โดยอิงทฤษฏีจากท่าน Professor Philip Kotler ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ในยุคสังคมดิจิทัลหรือยุค 4.0  "ที่คนกลายเป็นBrand" และ "Brandกลายเป็นคน" โดยจากที่ผมได้อ่านและได้สรุปไว้ดังนี้

ในยุคเนี้ยพฤติกรรมคนได้เปลี่ยนไป เพราะคนสมัยนี้ชอบฟังข้อมูลจาก ปัจจัย F-Factors ก็คือ 
เพื่อน (Friends) 
ครอบครัว (Family) 
Facebook และ Twitter Follwers

และคนเขียนได้บอกไว้ว่า. ในยุคเนี้ยยยยแบรนด์ไม่ได้เป็นแค่เครื่องหมายการค้า และไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ทางการตลาด อีกต่อไป และได้ทิ้งกฎการสร้างแบรนด์ ไว้ 3ข้อ

กฎข้อที่ 1 เชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์ในโลก online และ offline 

โดยสร้างการรับรู้, ความคุ้นเคย เพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อมโยงบางอย่างกับBrandได้ ประกอบกับ 
โลก online และ offline จะไม่สามารถแยกออกจากกันได้เด็ดขาด 
โลก online จะสร้างความตัดสินใจจากข้อมูล (Information) 
โลก offline จะเป็นตัว Touch point ตามพื้นที่ต่างๆ ถ้าBrand touch point ดีผู้บริโภคจะสื่อสารไปเอง โดยผ่านคุณค่าร่วม(Share Value)
และเปลี่ยนจากช่องทางการสื่อสาร(Communication) แบบเดิมๆ สู่การสร้าง Brand touch point ตามพื้นที่ต่างๆ



กฎข้อที่ 2 ทำให้ Brand มีชีวิต 

โดยสร้างจากสิ่งเหล่านี้ 
1. สิ่งที่แบรนด์"คิด" หรือ แก่นแท้ของแบรนด์ Brand Essencess (ทำให้ความคิดจับต้องได้)
2. "ตัวตน"ของแบรนด์ หรือ บุคลิกภาพของแบรนด์ Brand Personality (มีชีวิต มีตัวตน มีเรื่องราว)
3. "อัตลักษณ์ของแบรนด์" หรือ จุดเด่น Brand Identity System (สร้างความแตกต่างจากตัวตนของแบรนด์)
4. การรับรู้ของผู้บริโภคที่แบรนด์คาดหวัง หรือ การเชื่อมโยงกับผู้บริโภค Brand Expected Perception
5. การกระทำของแบรนด์ Brand Action  


กฎข้อที่ 3 สร้างเครือข่ายของแบรนด์จากคุณค่าร่วม(Share Value) จน แบรนด์กับผู้บริโภค เป็นเพื่อนกันหรือก็คือเชื่อมโยงกับผู้คนนั้นเองครับ


และเล่มนี้ยังพูดถึง CSV : Creating Shared Values (คุณค่าที่องค์กรเห็นร่วมกันกับสังคม) ซึ้งเป็นแนวคิดของ Professor Michael E. Porter แห่งมหาลัยฮาร์วาร์ด  ที่ในปัจจุบันหลายๆองค์กรในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาปรับใช้กันแล้วครับ









ballnava
#หัดเขียน

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

Product Life Cycle

Product Life Cycle หรือ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์    
ส่วนนี้ก็สำคัญมากครับในการทำธุรกิจต่างๆ ซึ่ง!!!เราจะใช้วิเคราะห์เพื่อที่จะรู้ว่าสินค้าหรือบริการของเราเนี้ยอยู่ตรงจุดไหน ระดับใด? เพื่อที่จะกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างถูกต้องและตรงจุดมากขึ้นครับ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจที่ปิดกิจการไปนั้น #ProductLifeCycle ก็มีส่วนเกี่ยวมากๆครับ เนื่องจากว่าการกำหนดกลยุทธ์ของเราเนี้ย ไม่ตรงกับตำแหน่ง #ProductLifeCycle  ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองงบและขาดทุนในที่สุด เรามาดูกันครับว่าในการ วิเคราะห์ #ProductLifeCycle หรือ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์   เขาจะดูจากปัจจัยทั้ง5ครับ
1.ยอดขาย  มากหรือน้อย
2.ต้นทุน ใช้เงินเยอะหรือน้อย
3.เราได้กำไร หรือ เราขาดทุน 
4.อัตราการเจริญเติบโตของสินค้าในตลาด สินค้ามีความต้องการจากผู้บริโภคไหม
5.สภาพการแข่งขันหรือคู่แข่งเรานั้นเอง มีมากหรือน้อย

Image result for product life cycle

ถ้าสินค้าเราอยู่ในขั้น
1. Introduction (ขั้นแนะนำ) ก็คือสินค้าเราเพิ่งเข้าตลาด  ส่วนใหญ่เขาใช้กลยุทธ์แบบ Build ก็คือ ลงทุนเกี่ยวกับการตลาดพวกโฆษณาเพื่อสร้างให้คนรู้จักร ให้คนได้ทดลองใช้สินค้า ซึ่งในการทำ Build จะต้องขาดทุน เนื่องจากเราใช้ต้นทุนทางการตลาดเยอะ มีสินค้าบางตัวอยู่ในตลาดมา 10-20ปี ก็ยังค้างอยู่ในช่วง  Introduction (แนะนำ) ระยะเวลาที่เป็นปีนั้นไม่สามารถกำหนดสินค้าใน  Product Life Cycle ได้นอกจากปัจจัยทั้ง5

2. Growth (ขั้นเจริญเติบโต) หรือขั้นที่แบบยอดขายปัง คนรู้จักร การเติบโตของสินค้าเราสูงมากคนต้องการชื้อสินค้าของเรามาก ไอขั้นเนี้ย ก็ยังทำ Build อยู่แต่จะเป็นการทำ ปรับปรุงProduct โดยเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ ทำContentให้คนที่รู้จักรสินค้าเปลี่ยนมาเป็นชอบสินค้าของเรา แต่ไอขั้นเนี้ยเราจะได้กำไรนะ จะไม่ขาดทุนเพราะเรามียอดขายที่ปัง และสินค้าเราเติบโตแต่ข้อควรระวังคือการเก็บ stock สินค้าระบบการจัดการก็ต้องดีด้วย

3. Maturity (ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่) หรือเรียกได้ง่ายๆว่า อิ่มตัวนั้นแหละคือยอดขายจะแบบคงที่ไม่สูงไม่ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มลดลงหรืออาจจะเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของกำไรเนี้ยจะค่อยๆลดลงซึ่งในขั้นเนี้ยจะมีการแข่งขันที่แบบรุนแรงมากเนื่องจากมีการช่วงชิงตลาดกัน เป็นขั้นที่ท้าทายที่สุดของนักการตลาดเลยครับ กลยุทธ์ที่ใช้กันก็พวก Hold ก็คือคุมไว้ ถือไว้ห้ามให้ตกดันให้สูงตลอด จะเป็นในรูปแบบของการ #เพิ่มกำไร รักษายอดขายไว้ และต้องคิด #innovation ใหม่ๆ เพื่อแย่งลูกค้ากันเพราะในขั้นเนี้ยการแข่งขันจะรุนแรงมากๆครับ

4. Decline (หรือขั้นถดถอย) สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำใจครับ5555 เอ้ย!!!ไม่สิ มันต้องมีหนทางออก สิ่งแรกคือเราต้องทำ Harvest หรือการเก็บเกี่ยวนั้นเอง เก็บเกี่ยวทุกอย่างที่เรามองว่าจะได้กำไร ตัดสินค้าบางตัวที่ไม่สามารถทำรายได้ให้แก่เราออก เพราะไม่มีธุรกิจไหนที่จะอยากมายืนจุดนี้ครับ เพราะเป็นจุดที่ยอดขายตกต่ำ ต้นทุนต่อสินค้าก็ต่ำลงไปด้วย กำไรลดลงเริ่มมีการขาดทุนจึงไม่แปลกครับที่จะต้องเก็บเกี่ยวทุกอย่างที่จะสามารถทำกำไรและคืนทุน สุดท้ายหากไม่สามารถดันสินค้าออกจากขั้น Decline ได้ ธุรกิจก็อาจจะต้องปิดตัวลงครับ


และนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้เรียนรู้มาจากในห้องเรียนเท่าพอที่จะจำและอธิบายได้หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อธุรกิจนะครับ




credit รูปภาพ semantics3.com





วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

วิวัฒนาการ ของการตลาดในแต่ละยุค

เรามั้กจะได้ยินได้เห็นแต่คำว่า 4.0 ในยุคนี้ซึ่งเทรน 4.0 กำลังมารวมถึงการตลาด 4.0 แล้วด้วยคำถามที่ว่าก่อนจะมาเป็น 4.0 เนี้ย มันต้องมี 1.0 / 2.0 / 3.0 มาก่อนหน้านี้แล้วสิ แล้วในยุคนั้นมันเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนแปลง  ขอเริ่มจากยุคที่ก่อนจะมาเป็นการตลาดละกันครับ



ยุค Barter System (การแลกเปลี่ยนสินค้า)
คือยุคที่แบบไม่มีอะไรซับซ้อนมาก การแลกเปลี่ยนยังอิงสิ่งที่มนุษย์ต้องการตามพื้นฐานปัจจัย 4 หรือ ผมมีสิ่งที่คุณอยากได้ คุณมีสิ่งที่ผมต้องการ เราแลกเปลี่ยนกัน ต่อมาก็ได้ พัฒนามาเป็น


Marketing1.0 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม(Industrialization Revolution)
เมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันมาขึ้นผู้บริโภคก็มีความต้องการสูงขึ้น   ผู้ผลิตก็มีความริเริ่มใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต(เวลานั้นจะให้ความสำคัญกับสินค้า)  ซึ่งก็ย่อมทำให้เกิดการแข่งขันกันสูงขึ้น เริ่มมีการใช้ #Marketing Mix (4p's) ในการออกแบบการตลาด และเริ่มมีการทำ #MarketingResearch เพื่อใช้ในการคิดกลยุทธ์ การทำตลาดจะทำในแบบ #MassMarket ก็คือผลิตสินค้าแบบเดียวไม่มีสินค้าเฉพาะเจาะจงกลุ่มผู้บริโภค เช่น ยาสระผมก็คือยาสระผมจะไม่มีแบ่งแยกแบบ ของเด็ก ของคนโต ก็คือใช้แต่สระผมอะ


Marketing2.0 ยุคปฏิวัติข้อมูล (Information Revolution)
ก็คือการเริ่มเข้ามาของอินเตอร์เน็ต ผู้บริโภคเริ่มมีการหาข้อมูลทางเว็บไซร์ ในยุคเนี้ยจะเป็นการแข่งขันโดยแบบทำทุกอย่างให้ผู้บริโภคพึงพอใจ(Satisfaction)อะ เริ่มมีการนำกลยุทธ์ 4C's มาใช้ ซึ่งจะสอดคล้องกับ 4P's ในการออกแบบความพึงพอใจของผู้บริโภค  และเป็นยุคที่เกิด E-commerce อย่างพวก e-bay, Amazon และ alibaba แล้วจุดสำคัญๆที่เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือ การทำตลาดจะเปลี่ยนจากการทำ Mass Market สู่การทำ SegmentationTargetingPositioning (STP การทำตลาดเฉพาะส่วน) แบบเจาะจงเพื่อให้เกิดความ Satisfaction แบบสุดๆไปเลย ถามว่าการตลาดเฉพาะส่วนหรือSTP คือไร ยกตัวอย่าง รองเท้า nike โดยจากเดิมเป็นรองเท้ากีฬาทั่วๆไป เริ่มมีการทำเฉพาะส่วนก็คือ รองเท้าสำหรับวิ่ง, บาส, weight training เป็นต้น และเมื่ออินเตอร์เน็ตมีบทบาทมากขึ้นๆ ประกอบกับการพัฒนาของโทรศัพท์มือถือ ยุคนั้น Steve Job  เริ่มมีบทบาทก็เข้าสู่ยุคถัดไป


Marketing 3.0 ยุคเครือข่าย สังคมออนไลน์(Social Media)
ก็คือยุคที่เพิ่มความสามารถในการสื่อสาร ในการส่งข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งมีความรวดเร็วในการโต้ตอบ จึงทำให้ คนรวมกลุ่มกันในสังคมOnlineมาเป็น #SocialNetwork ทำให้เกิดเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ #SocialMedia  แต่ในการทำการตลาดยุคเนี้ยจะเป็นการทำแบบ เพิ่มคุณค่าให้กับ#Brand มีการใช้ #Content(เรื่องราว) ในการสนับสนุน เพื่อให้เกิดคุณค่า


Marketing 4.0  ยุคสังคมดิจิทัล

ไอยุคสังคมดิจิทัลเนี้ยย เป็นยุคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ณ ตอนนี้ และ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยจะอิงระหว่าง #AIDA กับ #5A ของทฤษฎี Philip Kotler ที่จะเป็นตัวอ้างอิง  และในยุคเนี้ยผู้คนเริ่มมีการมองหาส่วนที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์แบบในชีวิต รวมถึงผู้คนเริ่มมีความต้องการที่จะเป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้าง และพัฒนามาสู่ความต้องการที่จะเป็น ที่รู้จักรยอมรับของคนในสังคม Online มากขึ้น หรือการทำทุกอย่างให้ผู้คนได้จดจำ









ballnava

#หัดเขียน

วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

10 เรื่องที่จะนำพาสู่ความล้มเหลว

Image result for think and grow rich

ผมได้มีโอกาสฟัง audio book เรื่อง THINK AND GROW RICH ของ NAPOLEON HILL  ซึ่งผมก็ได้ใจความที่สรุปมาให้แง่คิดดีมากๆเลยครับ และที่ผมยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งภายในเล่ม โดยใจความที่ผมยกมานั้นไม่ว่าจะอ่านกี่รอบก็จะตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเราได้ดีมากๆเลยครับ ลองดูละกันครับว่าใน10เรื่องนี้จะตรงกับเรากี่ข้อ? และเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร ในฐานะบทบาทผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในฐานะ ครอบครัว, เพื่อน, หน้าที่การงาน, โรงเรียน และในมหาวิทยาลัย


10 เรื่องที่จะนำพาผู้นำสู่ความล้มเหลว

1. ไม่สามารถจัดการกับเรื่องปลีกย่อยได้ เช่น ไม่มีความสามารถในการจัดการเรื่องปลีกย่อย อย่างบริหารจัดการตัวเอง และไม่สามารถแบ่งเวลาได้ 
2. ไม่เต็มใจทำงานบริการที่ต่ำกว่าหน้าที่ อย่างเช่น ผู้นำที่ดีนั้นควรทำงานที่สั่งให้คนอื่นทำได้  และบุคคลที่ยิ่งใหญ่คือคนที่พร้อมจะรับใช้ทุกคน
3. คาดหวังผลตอบแทนจากความรู้ มากกว่าการใช้ความรู้ที่มีลงมือทำงาน มีความโลภมาก ไม่จ่ายค่าตอบแทนในสิ่งที่คนรู้ หรือสั่งให้คนอื่นทำ
4. หวาดกลัวการแข่งขันจากผู้ตาม(ลูกน้อง
5. ไร้จินตนาการ จะทำให้เราไม่สามารถเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นได้ หรือไม่สามารถสร้างแผนฉุกเฉินรอรับกับปัญหาที่จะเกิดตามมาได้
6. ความเห็นแก่ตัว ผู้นำที่แอบอ้างความสำเร็จจากการทำงานของลูกน้อง ย่อมได้รับความเคลียดแค้นจากผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำที่แท้จริงย่อมไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะขอรับความพึงพอใจในความสำเร็จเท่านั้น
7. การทำตามใจตัวเอง ผู้ตามไม่นับถือผู้นำทำตามอำเภอใจ
8. ความไม่จงรักภักดีในองค์กร ต่อหน้าที่ ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
9. ให้ความสำคัญของอำนาจผู้นำมากเกินไป ผู้นำที่เก่งจะกระตุ้นเตือนคนที่ใช้อำนาจ จัดอยู่ในสภาวะผู้นำแบบบังคับควบคุม
10. ให้ความสำคัญแก่ยศ จะไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่ผู้อื่น โดยมีความโอ้อวด







credit รูปภาพ : https://www.amazon.com/




Facebook Insight

Facebook Insight เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจเลยที่เดียว แต่ละคำสั่งก็น่าสนใจอยู่มากเลยนะครับ มันช่วยให้เราทำแคมเปญ และวิเคราะห์พฤต...