มันทำให้ได้นึกถึงตอนได้ทำรายงานวิจัยกับเพื่อนๆในกลุ่ม ต่างคนก็ต่างคิดไม่ออกกันว่า เราจะใช้กราฟ อะไรดี? จะสื่อข้อความแบบไหนให้ข้อมูลยังไง?
ก็ได้อ่านบนความหลายๆแหล่ง ก็สรุปมาได้ประมาณนี้ เกี่ยวกับการใช้กราฟ
Conditional Format
อันนี้เหมาะเอาไว้อ่านเองดูเอง หรือเอาไว้นำเสนอก็ได้ แต่ก็จะมีข้อควรระวัง ก็คือตัวเลขจะเยอะมากๆ การใช้สีก็สำคัญ ควรเลือกใช้ ไฮไลท์ทำเป็นทีละแถวๆไป

Line Chart สำหรับข้อมูลที่เป็น time series
จะเห็นภาพ เห็น trend(แน้วโน้ม) สามารถเปรียบเทียบข้อมูลในช่วงระยะเวลากันได้ง่าย ว่าช่วงปีไหน วันไหน ที่กราฟมันตกลงมา หรือช่วงเวลาไหนที่กราฟมันเพิ่มขึ้น
ถ้าข้อมูลมันไม่ปะติปะต่อกัน แบบเช่น ไม่ใช่ตาม วัน/เดือน/ปี อย่าใช้ Line Chart เด็ดขาด ให้ไปใช้ Bar Chart แทน
เช่น เพศชายกับหญิงใครมากกว่ากัน หรือ รถยนต์ของแต่ละยี่ห้อที่มีคนชื้อไปแล้วกี่คัน ละเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ไรแบบเนี้ย
TreeMap
เอาไว้ใช้เปรียบเทียบข้อมูลทาง ภูมิศาสตร์ อย่างเช่น ระดับทวีป, ประเทศ, จังหวัด, อำเภอ แบบเนี้ยผมก็ไม่ค่อยได้คุ้นหน้าคุ้นตากับเจ้ากราฟนี้เท่าไร ก็จะงงบ้างนิดหน่อย
stacked bar
barจะต้องมีหลายอันใน 1 แท้ง และข้อมูลที่อยู่ในส่วนย่อยๆในbar รวมกันจะต้องได้ 100% ทางซ้ายจะเป็นข้อมูลที่เยอะกว่า ส่วนบาร์ด้านขวาจะเป็นข้อมูลที่น้อยกว่า บาร์นี้เหมาะกับการสำรวจ ละเอามาเปรียบเทียบกัน
ยกตัวอย่างเช่น เราไปสำรวจพฤติกรรมการใช้ facebook ในกลุ่มประเทศในACE ยกกลุ่มตัวอย่างมา 3ประเทศมี ไทย, สิงค์โปร, มาเลเซีย ผู้บริโภคจะใช้ Facebook ในช่วงเวลาไหนกันบ้างแบ่งเป็นช่องๆคำตอบให้คนตอบว่า 1ตอนเช้า 2กลางวัน 3กลางคืน 4ใช้ตลอดเวลา
ข้อมูลที่ทำการรันผ่านSPSS จะได้มาประมาณเนี้ยแหละะ
ผมมาเขียนไว้เพื่อกันลืมเพื่อวันนึงมันจะใช้ได้ และถ้าได้ข้อมูลใหม่ๆก็จะมาเพิ่มเติมที่หลัง
credit รูปภาพ : google
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น